ส่วนแผนและประสานงาน ศปป.4 กอ.รมน.
ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
DSI map
การตรวจสอบและจัดทำแผนที่เกิดเหตุโดยใช้เทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศ
ปัจจุบันเทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศมีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น มีการนำระบบภูมิสารสนเทศไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ระบบนำทางในยานพาหนะ การดูภาพถ่ายดาวเทียมสถานที่ต่างๆ จาก Google Earth การดูตำแหน่งปัจจุบันของตัวเราหรือของเพื่อนๆ ผ่าน Application บน Smartphone เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำระบบภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบและจัดทำแผนที่เกิดเหตุได้ ทั้งนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยศูนย์ปฏิบัติการแผนที่และภูมิสารสนเทศ ได้ใช้เทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศ พัฒนาระบบแผนที่แม่ข่ายผ่าน Internet DSI map เพื่อใช้ในการตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุในเบื้องต้นว่าอยู่ในเขตสงวนหวงห้ามของรัฐประเภทใดหรือไม่ โดยการใช้งานผ่าน Web Browser เหมือนการเข้าไปดู Website ต่างๆ สามารถใช้งานได้จาก Computer Desktop , Computer Notebook , Ipad ,Tablet ระบบ Android หรือ SmartPhone ระบบต่างๆ โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเพิ่ม เพียงแต่ต้องเชื่อมต่อกับระบบ Internet ได้เท่านั้น นอกจากนี้เรายังสามารถค้นหาโปรแกรมหรือ Application ต่างๆ ที่เผยแพร่ในระบบ Internet มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบและจัดทำแผนที่เกิดเหตุได้อีกเช่นกัน โดยในที่นี้จะขอแนะนำการใช้ DSI map และเทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศ มาใช้ในการตรวจสอบและจัดทำแผนที่เกิดเหตุ ดังนี้.-
1. การใช้ระบบแผนที่แม่ข่ายผ่าน Internet DSI map
เปิด Web browser เช่น Internet explorer,Mozilla Firefox หรือ Google Chrome เป็นต้น
แล้ว พิมพ์ www.dsi-map.com หรือ www.dsi-map.go.th
ในช่อง url address ของ browser แล้วกด Enter
กดปุ่ม + ที่ แถบตำแหน่งพิกัด GPS.
ป้อนค่าพิกัดที่ต้องการตรวจสอบในช่อง E และ N แล้วกดปุ่ม Check (ในช่องนี้เป็นพิกัดภูมิศาสตร์ สามารถป้อนค่าพิกัดในรูปแบบต่างๆเช่น 99.05410 หรือ 99 03 14.76 หรือ 99d 03m 14.76s เป็นต้น)
โปรแกรมจะปักหมุดและซูมไปที่ตำแหน่งค่าพิกัดพร้อมแสดงหน้าต่างย่อยบอกว่าอยู่ในเขตป่าสงวนฯและและเขตอุทยานฯหรือไม่ (ถ้าอยู่ตัวหนังสือเป็นสีแดง ถ้าไม่อยู่ตัวหนังสือเป็นสีเขียว) จากนั้นกดปุ่ม OK
ป้อนพิกัดจุดต่อไปแล้วกด Check
ในกรณีต้องการทราบพื้นที่ เมื่อป้อนพิกัดจุดรอบแปลงครบแล้ว ให้กดปุ่มคำนวณพื้นที่
คลิกซ้ายที่เม้าส์บริเวณที่ปักหมุดทีละหมุดวนจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายก็ได้ หมุดสุดท้ายให้ดับเบิลคลิก