top of page
พลโท ชัยยุทธ   พร้อมสุข
ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

การประสานความร่วมมือด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

 

๑ สถานการณ์สาธารณภัยที่ผ่านมา
       การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเนื่องจากความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติในระยะ เวลาที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ กอ.รมน.จึงเข้าไปมีส่วนร่วม สนับสนุน และ ช่วยเหลืองานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขนาดใหญ่ ภายใต้ศักยภาพและขีดความสามารถของ กอ.รมน. โดยน้อมนำแนวทางตามพระราชดำริ หรือพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประยุกต์ใช้ เช่น การ ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เสี่ยง เพื่อป้องกันดินโคลนถล่ม เป็นต้น
๒ การดำเนินการประสานความร่วมมือด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
       ศปป.๔ กอ.รมน.ได้ประสานบูรณาการแนวความคิดในการปฏิบัติ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้ความเดือดร้อน หรือ การสูญเสียของประชาชนในพื้นที่ประสบภัย “เกิดขึ้นน้อยที่สุด” หรือ
“ไม่เกิดขึ้นเลย” ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้ง “ระบบบัญชาการในสถานการณ์” (Incident Command System: ICS) โดย กอ.รมน.จังหวัด ร่วมกับศูนย์อำนวย การบริหารสถานการณ์วิกฤตของจังหวัด (ศอ.จังหวัด) จัดตั้ง War Room ที่สามารถปฏิบัติงานเบ็ดเสร็จแบบ One Stop Service และตามนโยบาย 2P 2R ที่นายกรัฐมนตรี(นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) กรุณามอบไว้ให้เป็นแนวทาง ปฏิบัติ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย/ประธานคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.)
ได้แต่งตั้งเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ลธ.รมน.) เป็นอนุกรรมการของคณะอนุกรรมการเผชิญเหตุ (Response) และคณะอนุกรรมการฟื้นฟู (Recovery) เรียบร้อยแล้ว
๓ สรุปผลการปฏิบัติที่ผ่านมา
    จากการติดตามสถานการณ์ในปัจจุบันมีพื้นที่ประสบภัยพิบัติทั่วประเทศแล้ว ดังนี้         
        ๓.๑ สถานการณ์ภัยแล้ง (เมื่อ ๑๐ ม.ค.๕๖) จำนวน ๒๕ จังหวัด ๒๕๑ อำเภอ                  ก. กอ.รมน.ภาค ๑ ไม่มีสถานการณ์ภัยแล้ง       
             ข. กอ.รมน.ภาค ๒ ภัยแล้ง ๑๘ จังหวัด คือ จังหวัดกาฬสินธุ์, สกลนคร, อุดรธานี, บึงกาฬ, หนองบัวลำภู, มุกดาหาร, ยโสธร,มหาสารคาม,อำนาจเจริญ,นครพนม,ร้อยเอ็ด,ชัยภูมิ,ขอนแก่น, บุรีรัมย์,นครราชสีมา, ศรีสะเกษ,อุบลราชธานี,สุรินทร์ สำหรับจังหวัดที่ประกาศภัยแล้งทั้งจังหวัดได้แก่ กาฬสินธุ์, มหาสารคาม,หนองบัวลำภู, มุกดาหาร,ขอนแก่น      
             ค. กอ.รมน.ภาค ๓ ภัยแล้ง ๕ จังหวัด คือ สุโขทัย, พิษณุโลก, นครสวรรค์, เชียงใหม่ และแพร่      
             ง. กอ.รมน.ภาค ๔ ไม่มีสถานการณ์ภัยแล้ง
       ๓.๒ สถานการณ์ภัยหนาว จำนวน ๙ จังหวัด ๕๑ อำเภอ ดังนี้      
             ก. กอ.รมน.ภาค ๑ ไม่มีสถานการณ์ภัยหนาว      
             ข. กอ.รมน.ภาค ๒ ภัยหนาว ๒ จังหวัด คือ จังหวัดหนองบัวลำภู และเลย      
             ค. กอ.รมน.ภาค ๓ ภัยหนาว ๗ จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่, อุตรดิตถ์, แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, แพร่, ลำพูน และจังหวัดน่าน      
             ง. กอ.รมน.ภาค ๔ ไม่มีสถานการณ์ภัยหนาว
๔ ข้อเสนอแนะ
       ๔.๑ ควรติดตามสถานการณ์สาธารณภัยของประเทศ โดยความร่วมมือของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุตุนิยมวิทยา ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และ กอ.รมน.ภาค ๑ – ๔ อย่างใกล้ชิด
       ๔.๒ รัฐบาลโดย กอ.รมน. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขนาดใหญ่ของจังหวัด หรือศูนย์อำนวยการจังหวัด ภายใต้ศักยภาพและขีดความสามารถของ กอ.รมน.จังหวัด เพื่อให้ “ระบบบัญชาการในสถานการณ์” หรือ War Room สามารถอำนวยการและกำกับการปฏิบัติของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕ แผนการปฏิบัติในปี ๒๕๕๖
       การดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในห้วงต้นปีงบประมาณ ๒๕๕๖
ศปป.๔ กอ.รมน. ได้จัดตั้ง “ศูนย์ประสานเพื่อบูรณาการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัยในกรณีภัยแล้งและภัยหนาว” เพื่อเตรียมรองรับการปฏิบัติเมื่อสถานการณ์ภัยหนาวและภัยแล้ง เข้าสู่ภาวะวิกฤตเกินขอบเขตความรับผิดชอบ ของหน่วยงานในพื้นที่ ในปัจจุบันได้มีภาคประชาชนที่แจ้งความประสงค์ พร้อมให้การสนับสนุนเมื่อมีการร้องขอ จำนวน ๖ กลุ่มใหญ่ ๆ และเป็นรายบุคคล จำนวน ๙๕ ราย
 

 

bottom of page