top of page
ส่วนแผนและประสานงาน ศปป.4 กอ.รมน.




ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร










I'm a paragraph. Click here to add your own text and edit me. I’m a great place for you to tell a story and let your users know a little more about you.
สรุปผลการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ ผรท.
ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕
สรุปผลการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ ใน ๒๖ ก.ย.๕๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๒ อาคาร ศปก.ทบ.(เดิม) ใน กอ.รมน. สวนรื่นฤดี โดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี/ประธานกรรมการ เป็นประธานการประชุม สรุปสาระสำคัญการประชุมได้ ดังนี้
๑. เรื่องที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ ได้แก่
๑.๑ อนุมัติร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ ผรท. ในพื้นที่ กอ.รมน.ภาค ๑ – ๔ และคณะอนุกรรมการจังหวัดในแต่พื้นที่ของ กอ.รมน.ภาค ๑ – ๔ (เฉพาะจังหวัดที่มี ผรท.มีภูมิลำเนาอยู่จำนวนมาก จำนวน ๔๔ จังหวัด)
๑.๒ อนุมัติหลักการให้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาของคณะอนุกรรมการ กอ.รมน.ภาค ๑ – ๔ โดยแต่งตั้งจากกลุ่ม ผรท. และ/หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ เพื่อให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
๑.๓ กำหนดคุณสมบัตฺของ ผรท. ที่เข้าข่ายสมควรได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการ
๑.๓.๑ ต้องเป็นบุคคลที่เกิดในปี พ.ศ.๒๕๐๙ หรือก่อนนั้น
๑.๓.๒ ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการในฐานะผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
และ/หรือ ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือด้านการจัดที่ดินจากทางราชการมาก่อน
๑.๓.๓ ต้องเป็นผู้ที่มีฐานะยากจน โดยคณะกรรมการของทางราชการได้สอบสวนแล้วว่าเป็นผู้มีรายได้ไม่เกินปีละ ๖๐,๐๐๐ บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)
๑.๓.๔ ต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี โดยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายอำเภอท้องที่ รับรอง
๑.๓.๕ ไม่เคยต้องโทษคดีอาญา คดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรืออยู่ระหว่างการถูกดำเนินคดีดังกล่าว
๑.๓.๖ เป็นผู้ที่ผ่านการอบรมในโครงการการุณยเทพ ซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของ
หน่วยงานฝ่ายทหารที่รับผิดชอบ ให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยนั้นอยู่ในเกณฑ์ ที่สมควรได้รับความช่วยเหลือ
๑.๓.๗ ในกรณีเป็นผู้ไม่ผ่านการอบรมในโครงการการุณยเทพ ต้องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อพิจารณา คัดกรองอย่างชัดเจนและเป็นธรรม โดยผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการพิจารณา ต้องเป็นอดีตกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) หรืออดีตกองกำลังติดอาวุธที่เข้ามอบตัวต่อทางราชการและมีหลักฐานการมอบตัวต่อทางราชการ
๑.๓.๘ ผู้ที่เคยเป็นสมาชิก แนวร่วม หรือ ผู้ให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) และอดีตกองกำลังติดอาวุธที่ถูกจับกุม ไม่ถือว่าเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย และไม่อยู่ในข่ายได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการ
๑.๔ เงื่อนไขในการให้ความช่วยเหลือ
๑.๔.๑ ให้ความช่วยเหลือเป็นรายครอบครัว หากเป็นสามีภรรยากัน ให้พิจารณาช่วยเหลือเพียงรายเดียว
๑.๔.๒ กรณีที่ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยผู้นั้น ได้ผ่านการตรวจสอบและพิจารณาแล้วว่าเป็นผู้ที่สมควรได้รับความช่วยเหลือ หากผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยผู้มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์นั้นเสียชีวิต ก็ให้ประโยชน์นั้นตกทอดไปยังทายาทโดยธรรม
๑.๔.๓ ผู้มีฐานะดี ผู้ที่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทห้างร้าน หรือผู้ที่มีเงินเดือนประจำ ให้งดการให้ความช่วยเหลือ
๑.๕ ส่วนการปฏิบัติต่อผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย กลุ่ม ๒,๓,๔ คณะกรรมการจะพิจารณากำหนดคุณสมบัติและแนวทางการให้ความช่วยเหลือต่อไป
๒. เรื่องสั่งการและข้อห่วงใยของรองนายกรัฐมนตรี
๒.๑ เจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรีในการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้เข้ามารับผิดชอบ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ ผรท. คือ เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพทั่วถึงทุกกลุ่ม ด้วยความถูกต้องเป็นธรรม นำไปสู่การยุติปัญหา ผรท. ลงอย่างสิ้นเชิง
๒.๒ ให้คณะกรรมการต้องกระชับการทำงาน ดำเนินการด้วยความรอบคอบ ถูกต้องโปร่งใสและเป็นธรรม โดยทั่วถึงทุกกลุ่ม และให้อยู่ภายในห้วงที่เหมาะสม
๒.๓ ให้คณะอนุกรรมการ กอ.รมน.ภาค และคณะอนุกรรมการจังหวัด ปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบและที่มีอยู่ และดำเนินการต่อผู้แอบอ้างต่าง ๆ อย่างชัดเจนตั้งแต่ระดับพื้นที่ โดยรวบรวมหลักฐานการกระทำความผิดและแจ้งความดำเนินคดี รวมทั้งต้องมีการประชาสัมพันธ์ควบคู่กันไป
๒.๔ ให้คณะอนุกรรมการ กอ.รมน.ภาค และคณะอนุกรรมการจังหวัด ซึ่ง ผอ.รมน.ภาค และ ผอ.รมน.จังหวัด เป็นประธานอนุกรรมการ เตรียมงานและเริ่มงานตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จโดยไม่ชักช้า
๒.๕ ในการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษา ขอให้พิจารณา ตรวจสอบ ผู้ที่มีความเหมาะสมจริง ๆ สามารถนำผลการปรึกษาหารือไปถ่ายทอดให้ ผรท. รับทราบได้ และขอให้มีการปฐมนิเทศน์คณะที่ปรึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจในเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านเอาใจใสในเรื่องนี้มาก
ต่อมา พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิปะภา รองนายกรัฐมนตรี/ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ได้แต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายที่ปรึกษาคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ตามคำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่ ๖/๒๕๕๕ ลง ๒๕ ต.ค.๕๕ โดยมีองค์ประกอบคณะทำงานจำนวน ๑๐ ท่าน
เมื่อวันที่ ๑๖ ต.ค.๕๕ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี/ประธานกรรมการ กรุณาให้นโยบายกับรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอก จงศักดิ์ พานิชกุล), รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจตรี ธวัช บุญเฟื่อง), ผอ.ศปป.๔ กอรมน. (พล.ต.คณิต อุทิตสาร) และคณะดังนี้
- ไม่ต้องการให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองกลุ่มใด
- พยายามดูแลให้ดีที่สุด รัฐบาลห่วงใย, ให้ช่วย
- ไม่ให้มีกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเข้ามาชุมนุมใน กทม.
- ให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด, แม่ทัพภาค หยุดในระดับจังหวัด
- ปฏิบัติตามระเบียบเพราะเป็นเงินภาษีประชาชน
เมื่อวันที่ ๑๗ ต.ค.๕๕ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พลเอก จงศักดิ์ พานิชกุล) ได้เชิญรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจตรี ธวัช บุญเฟื่อง) ร่วมหารือกับ ผอ.ศปป.๔ กอรมน. (พล.ต.คณิต อุทิตสาร) เพื่อทำความเข้าใจกรอบแนวทางการจัดทำประกาศ หรือแถลงการณ์ หรือการเจรจาเรื่อง การให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย สรุปสาระสำคัญ คือ
-
การจะออกประกาศ หรือแถลงการณ์ใด ๆ ต้องเป็นไปตามมติคณะกรรมการ
-
รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือ ผรท.
-
ให้ช่วยเหลือ ผรท. ที่ตกหล่น ตามพันธสัญญาที่รัฐบาลก่อนทำไว้
-
การช่วยเหลือต้องอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริงและกฎระเบียบที่เข็มงวดเพราะเป็นภาษีประชาชน
-
นอกเหนือจาก ผรท.ที่ตกหล่นข้างต้นแล้ว ถ้ามีบุคคลอื่นได้รับผลจากคำสั่ง ๖๖/๒๓ ให้อนุกรรมการแต่ละส่วนรวบรวมจำนวน พร้อมเหตุผลเพื่อให้คณะกรรมการ พิจารณาแนวทางช่วยเหลือและนำเข้า ครม. ต่อไป
-
คณะกรรมการและอนุกรรมการสามารถตั้งคณะที่ปรึกษาจาก ผรท. หรือผู้ทรงคุณวุฒิได้
การดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ ผรท. ของคณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ โดยมี ผอ.ศปป.๔ กอ.รมน. (พล.ต.คณิต อุทิตสาร) เป็นประธานกรรมการได้ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้แก่การรวบรวมรายชื่อ ผรท. กลุ่มต่าง ๆ แนวทางการให้ความช่วยเหลือ ผรท. ที่เหมาะสมเสนอต่อคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยต่อไป และ ศปป.๔ กอ.รมน. จะกำหนดการประชุมหารือ กอ.รมน.ภาค ๑ – ๔ ในวันที่ ๘ พ.ย.๕๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. เพื่อแถลงความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานของ กอ.รมน.ภาคและประสานความเข้าใจ และพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ ผรท. ที่เหมาะสมเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ ผรท. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๕




ข้อเท็จจริง และข้อพิจารณา
๑. การดำเนินการของคณะกรรมการที่ผ่านมาเป็นไปตามขั้นตอนของการพิจารณาที่จะต้องมีความละเอียด รอบคอบ ได้ข้อมูลจากทุกภาคส่วน ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาเนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกฏหมายและการใช้งบประมาณแผ่นดิน
๒. ในทางตรงข้ามผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยก็ต้องการความรวดเร็วเพราะต้องการผลประโยชน์ตามข้อเรียกร้องที่แต่ละกลุ่มต้องการ จึงกดดันการทำงานของคณะกรรมการ เช่น นัดรวมตัวชุมนุมประท้วงเป็นการสร้างความกังวลให้ผู้บังคับบัญชา และผู้ใหญ่ฝ่ายรัฐบาล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของรัฐบาลได้
๓. ตามกรอบแนวทางที่กำหนดร่วมกันในข้อ ๒.๑ สรุปว่าให้ช่วยผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยตามลำดับความเร่งด่วน โดยแยกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
กลุ่มแรก คือกลุ่มที่ผ่านการอุทธรณ์มาแล้วจากรัฐบาลชุดก่อนว่าเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ที่สมควรได้รับการช่วยเหลือแต่ยังตกค้างอยู่ จำนวน ๑,๐๘๖ คน โดยใช้หลักเกณฑ์เดิมทั้งคุณสมบัติและแนวทางช่วยเหลือเป็นเงิน ๒๒๕,๐๐๐.- บาทต่อคน
กลุ่มที่ ๒ คือกลุ่มผู้เรียกร้องที่เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมด ให้คณะอนุกรรมการจังหวัดและภาค รวบรวมจำนวนพร้อมเหตุผล เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางช่วยเหลือ และนำเข้าคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งกลุ่มนี้สามารถตั้งผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เป็นกรรมการที่ปรึกษาของอนุกรรมการระดับจังหวัดและภาคได้
๔. วิธีการที่น่าจะหาทางคลี่คลายปัญหาและยอมรับได้ของทั้งฝ่ายการเมืองและผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย คือตัวแทนฝ่ายการเมืองที่ตกลงใจได้, แกนนำผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยที่เป็นที่ยอมรับของสมาชิกของทุกภาค, ผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค และผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๔ หารือกันแบบไม่เป็นทางการให้ได้ข้อยุติที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ก่อน จึงนำผลการหารือนั้นเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเป็นมติที่จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
bottom of page